สเตียรอยด์มีอันตรายเมื่อใช้เป็นเวลานาน

สเตียรอยด์

สเตียรอยด์ คือ กลุ่มฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เองปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อทำหน้าที่ควบคุมระบบต่างๆ ภายในร่างกายให้เป็นปกติ เช่น ต้านการอักเสบ ลดอาการปวด ปรับความเครียด ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานปกติ  เป็นต้น และเนื่องจากสารสเตียรอยด์มีความจำเป็นต่อร่างกาย จึงทำให้มีการผลิตสเตียรอยด์สังเคราะห์ขึ้นมา เพื่อใช้ทางการแพทย์ เป็นยาเคมีมีหลายชนิด และหลายรูปแบบทั้งยาฉีด ยาเม็ด ยาครีม ใช้ในการรักษา ระงับอาการ แต่แตกต่างกับสเตียรอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้น ตรงที่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายมากกว่า มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันอีกด้วย

สเตียรอยด์สังเคราะห์

สเตียรอยด์มีฤทธิ์ต่อระบบของร่างกาย จึงมีผลได้ทั่วร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น

  • ผลกดภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง จึงติดเชื้อง่าย และบางทีสเตียรอยด์อาจปิดบังอาการแสดงของโรคติดเชื้อ กว่าจะตรวจพบ เชื้อโรคก็ลุกลามรุนแรงมากจนทำให้เสียชีวิต
  • ทำให้เยื่อบุในกระเพาะอาหารบางลง และยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารใหม่ อาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออกในกระเพาะอาหาร โดยที่ไม่มีการแสดงอาการบอกให้รู้ตัวก่อน
  • ทำให้กระดูกพรุน แตกหักง่าย ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ผู้ป่วยความดันโลหิตไม่สามารถควบคุมระดับความดัน ให้อยู่ในช่วงปกติได้ จะมีระดับความดันโลหิตสูง แต่ไม่มีอาการเตือน เป็นภัยเงียบที่อาจทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองแตก เสี่ยงเป็นอัมพฤต-อัมพาตได้
  • มีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจอาจหยุดเต้นได้
  •  เนื่องจากการใช้สเตียรอยด์สูง ทำให้ผู้ใช้เกิดอาการติดยา อารมณ์แปรปรวนง่าย และมีผลข้างเคียงอื่นๆ ตามมา คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ หงุดหงิด เป็นต้น
  • ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในช่วงปกติได้ จะมีระดับน้ำตาลสูง
  • สเตียรอยด์ชนิดยาทาภายนอก หากใช้นานๆติดต่อกัน จะทำให้ผิวหนังบาง ผมร่วง มึนศรีษะ เส้นเลือดที่ผิวหนังแตกง่าย ผิวหนังมีลักษณะเป็นมัน อักเสบมีผื่นแดง บางรายอาจเป็นสิวเห่อขึ้นทั้งตัว
  • นอกจากนี้การได้รับสเตียรอยด์ในขนาดสูง เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “คุชชิ่ง ซินโดรม” (Cushing Syndrome) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่สังเกตได้ คือ ใบหน้ากลมคล้ายพระจันทร์ มีไขมันพอกที่ต้นคอ ด้านหลังเป็นหนอก ผิวหนังบาง มีรอยแตกสีม่วงแดงตามผิวหนังที่หน้าท้องและต้นขา

สิ่งที่อันตรายอย่างยิ่งคือ เมื่อร่างกายได้รับสารสเตียรอยด์เป็นเวลานาน  ร่างกายจะหยุดสร้างสเตียรอยด์ตามธรรมชาติ ที่เคยสร้างเองได้  หากหยุดใช้อย่างกะทันหันจะทำให้ร่างกายขาดสเตียรอยด์อย่างฉับพลัน อาจเกิดภาวะช็อก หมดสติและเสียชีวิตได้ หากนำส่งโรงพยาบาลไม่ทัน

วิธีการใช้งานชุดทดสอบสเตียรอยด์

สามารถใช้ชุดทดสอบที่ใช้หลักการของ "อิมมูโนโครมาโทกราฟี" สามารถทดสอบได้เลย โดยนำผลิตภัณฑ์นั้นๆ แบ่งมาผสมกับน้ำยาในหลอดทดสอบที่มีให้ในชุดทดลองนี้  ตั้งทิ้งไว้จนน้ำยาตกตะกอน แล้วดูดส่วนใสมาหยดบนชุดทดสอบ ทิ้งไว้ประมาณ 10นาที จึงอ่านค่า การอ่านผลดูจากจำนวนเส้นที่ปรากฏขึ้น

2ขีด คือ ผลเป็นลบแสดงว่า ไม่พบสเตียรอยด์
1ขีด คือ ผลเป็นบวกแสดงว่า พบเสตียรอยด์

ซึ่งชุดทดสอบนี้ มีค่าความไวในการตรวจพบได้ในระดับไมโครกรัม ซึ่งถือว่ามีความไวสูง  และมีความถูกต้องแม่นยำมากในปัจจุบันนี้

วิธีสังเกตุว่าคุณ "ติดสเตียรอยด์" หรือเปล่าแบบเบื้องต้น

  • หลังจากกินยาหรือผลิตภัณฑ์ที่มีการผสมสเตียรอยด์ทุกชนิดแล้ว อาการปวดเมื่อยหายไปอย่างรวดเร็ว
  • เจริญอาหาร หิวบ่อย กินอาหารได้เยอะขึ้น
  • ใบหน้าบวมแดงจนเห็นเส้นเลือดฝอย
  • ใบหน้ากลมคล้ายพระจันทร์ มีไขมันพอกที่ต้นคอ ด้านหลังเป็นหนอก ผิวหนังบาง มีรอยแตกสีม่วงแดงตามผิวหนังที่หน้าท้องและต้นขา คุณกำลังใช้ยาขนาดสูงเกินไป พึ่งระวัง

ผิวติดสเตียรอยด์

คือ ผิวที่ไม่สามารถหยุดใช้สเตียรอยด์ หรือผลิตภัณฑ์สกินแคร์ที่มี "สเตียรอยด์" เพราะทันทีที่หยุดใช้ ผิวของคุณก็จะเกิดอาการแพ้ได้ง่ายมาก กลายเป็น  ผิวบอบบางแพ้ง่าย เพราะการใช้ สเตียรอยด์ เป็นเวลานาน ทำให้ภูมิคุ้มกันผิวตามธรรมชาติของคุณถูกรบกวน เนื่องจาก สเตียรอยด์ จะเข้าไปกดภูมิคุ้มกันผิวของคุณเอาไว้ ทำให้ผิวดูแข็งแรง ไม่มีผิวแพ้ง่ายในขณะที่ยังใช้สเตียรอยด์อยู่ แต่ทันทีที่หยุดใช้สเตียรอยด์ ภูมิคุ้มกันที่เคยถูกกดทับไว้ก็จะกลับมาทำงานมากกว่าเดิม และก่อให้เกิดอาการแพ้ต่างๆ อย่างรุนแรงกับผิว ไม่ว่าจะเป็น ผื่นแพ้ ผดผื่น หน้าแดง สิวแสบร้อน ผิวอักเสบ ผิวลอก เป็นขุย ผิวแพ้ง่าย และกลายเป็น ผิวติดสเตียรอยด์ ไปโดยปริยาย

 

Shopping Cart